พัฒนาการการเรียนรู้และความเข้าใจของเด็ก
ๆ หรือเยาวชนนั้น เกิดจากการที่ได้สนองตอบความต้องการในลักษณะที่พึงพอใจ
ยิ่งมีความสุขใจ สนุกสนานและเพลิดเพลิน จะยิ่งทำให้เกิดความประทับใจและจดจำได้ดี
ตามหลักทฤษฎีการเรียนรู้ของธรอนไดค์ (Edward L. Thorndike) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
ได้กล่าว ๆ ไว้ว่าการที่เด็กจะมีการพัฒนาได้สมบูรณ์นั้น ต้องมีการพัฒนาทั้งทางด้านสมอง
ร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม จามสภาพการเรียนการสอนในโรงเรียนจะพบว่าหลักสูตรได้จัดแบ่งหมวดหมู่ของการให้ความรู้แก่นักเรียนนักศึกษาเป็นหมวดเป็นชุด
และชุดที่จะสร้างเสริมการพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ได้แก่ ชุดกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย
ซึ่งหมายถึง การศึกษาด้านกิจกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย เป็นกลุ่มที่ว่าด้วยวิชาทักษะเกี่ยวกับกลไกของร่างกาย
ความถนัด ความคิดสร้างสรรค์เฉพาะบุคคล ซึ่งเป็นการสร้างพื้นฐานสำคัญให้กับนักเรียน
นักศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในด้านทักษะที่สูงขึ้น กิจกรรมทางการพลศึกษาจึงเป็นหัวใจสำคัญอันหนึ่ง
ที่มีบทบาทต่อการพัฒนาสร้างเสริมลักษณะนิสัย และบุคลิกภาพที่เหมาะสมให้แก่เด็กและเยาวชน
จุดมุ่งหมายหลักของกิจกรรมพลศึกษาก็คือ การมุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชน ได้มีการพัฒนาทางด้านร่างกาย
โดยใช้กิจกรรมเป็นสื่อด้วยการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน ได้มีการออกกำลังกายได้รับการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว
ความเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ การพัฒนาความเจริญเติบโตของกระดูกและข้อต่อ
ตลอดจนพัฒนาระบบต่าง ๆ ของร่างกายให้มีการทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ส่งเสริมทักษะด้านกลไกหรือการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมกลมกลืนระหว่างประสาทตา
หู มือ เท้า ในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากิจกรรมส่วนใหญ่จะเน้นหนักในด้านการเคลื่อนไหว
การใช้อวัยวะมือ เท้า แขน ขา หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการปฏิบัติกิจกรรม
ซึ่งนอกจากจะได้ผลต่อการเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์ราบรื่นแล้ว ยังเป็นการพัฒนาทางระบบกล้ามเนื้อ
ระบบการทำงานของหัวใจและระบบอื่น ๆ ทำให้ร่างกายได้รับการพัฒนา และเจริญเติบโตเป็นการพัฒนาการทางสมองอีกทางหนึ่งด้วย
(พีระพงศ์ บุญศิริ,มาลี สุรพงศ์ 2536: 1-2)
|